เมนู

ก็ความที่แห่งธรรมเหล่านั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้าอธิบายไว้ชัดแล้ว ใน
มงคลนั้น ๆ นั่นแล.
จบการพรรณเนื้อความแห่งพระคาถานี้ว่า
ทานญฺจ เป็นต้น

คาถาที่ 6

(มี 3 มงคล)
บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในพระคาถานี้ว่า อารตี วิรตี เป็นต้น
ดังต่อไปนี้.
การงด ชื่อว่า อารตี. การเว้น ชื่อว่า วิรตี.
อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ทั้งหลายย่อมเว้น (จากบาป) ด้วยเจตนานี้
เหตุนั้น เจตนานี้ ชื่อว่า วิรัติ. (ที่ชื่อว่า วิรัติ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เป็น
เครื่องงดเว้นแห่งสัตว์ทั้งหลาย หรือเป็นเครื่องให้สัตว์ทั้งหลายงดเว้น).
บทว่า ปาปา ได้แก่ จากอกุศล.
ที่ชื่อว่า มชฺชํ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งความเมา การดื่มซึ่งมัชชะ
(น้ำเมา) ชื่อว่า มชฺชปานํ. (เว้น ) จากการดื่มน้ำเมานั้น. การสำรวมชื่อว่า
สํยโม. ความไม่ประมาทชื่อว่า อปฺปมาโท. บทว่า ธมฺเมสุ ได้แก่ ใน
กุศลธรรมทั้งหลาย. คำที่เหลือมีนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วแล. นี้คือการพรรณนา
เฉพาะบท. ส่วนการพรรณนาเนื้อความ พึงทราบดังต่อไปนี้.
การไม่ยินดีของบุคคลผู้มีปกติเห็นโทษในบาป ด้วยใจนั้นแล ชื่อว่า
การงด. การเว้นด้วยกายและด้วยวาจา ด้วยสามารถแห่งกรรมและทวาร ชื่อว่า
วิรัติ.